รีวิวจากลูกค้า
คุณภาพที่การันตีจาก ลูกค้า
เนื่องจากอุปกรณ์รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย iMOVE นั้นออกแบบมาเพื่อใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
ในหลากหลายสถานการณ์ ลูกค้าจึงต้องทำความเข้าใจในระบบการทำงานและ ข้อจำกัดในการใช้งานของรถเข็น
iMOVE เงือนไขของสถานที่ๆไม่สามารถใช้งานรถเข็น iMOVE ได้ และเงื่อนไขด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่
อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานรถเข็น iMOVE ได้
1. สถานที่ที่ใช้งาน
1.1 ความสูงของเตียง หรือ โซฟา ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 43 เซนต์ และ ไม่สูงกว่า 60 เซนต์
เนื่องจากเป็นระดับความสูงที่รถเข็น iMOVE สามารถปรับได้ และที่ฐานเตียงหรือโซฟาจะต้อง
มีช่องว่างที่มีความสูงอย่างน้อย 12 เซนต์ เพื่อให้รถเข็น iMOVE สามารถเข็นเข้าไปได้
1.2 เนื่องจากความสูงของรถเข็น iMOVE จะไม่สามารถปรับขึ้นลงได้เมื่อมีผู้ป่วยนั่งบนที่นั่งแล้ว ท่านจึงต้องวัดความสูงของสถานที่ที่ท่านต้องการย้ายผู้ป่วยไป เช่นเก้าอี้หรือโซฟา ควรมีความสูงเท่ากับหรือต่ำกว่ากับความสูงของเตียงเล็กน้อย และในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการย้ายผู้ป่วยไปขับถ่ายโดยเข็นคล่อมชักโครก ท่านจึงต้องมั่นใจว่าความสูงของชักโครกนั้นต่ำกว่าความสูงของที่นั่งของรถเข็น iMOVE พอสมควร และพื้นที่ในห้องน้ำไม่ควรแคบเกินไป หรือไม่มีอะไรขวางบริเวณชักโครก ท่านจึงสามารถใช้รถเข็น iMOVE ได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด
1.3 พื้นผิวของเตียง หรือ โซฟา ที่ต้องการใช้รถเข็น iMOVE ยกผู้ป่วย ต้องมีความเรียบพอสมควร ไม่ยวบหรือเป็นแอ่ง หากที่นั่งหรือที่นอนเป็นแอ่งแนะนำว่าควรใช้เบาะเสริมรองนั่ง ซึ่งสามารถสั่งซื้อได้กับทางบริษัท
1.4 ต้องมีที่ว่างบริเวณด้านซ้าย และด้านขวาของที่นั่งอย่างน้อยข้างละ 40 เซนต์ เพื่อให้รถเข็น iMOVE เปิดและปิดเวลาที่จะยกตัวผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปที่รถเข็นวีลแชร์ รถเข็นวีลแชร์นั้นก็จะต้องสามารถยกพนักวางแขนทั้งสองข้างหลบได้ และไม่มีล้อหลังขนาดใหญ่เกินไปจนกลายเป็นที่กั้นด้านซ้ายและขวาของที่นั่ง จึงจะสามารถใช้รถเข็น iMove ย้ายผู้ป่วยไปได้
1.5 พื้นที่ที่เข็นรถเข็น iMOVE ต้องเป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระ หรือหากมีทางต่างระดับ ทางต่างระดับนั้นก็ไม่ควรสูงเกิน 5 เซนต์ หากมีสิ่งกีดขวางหรือทางต่างระดับสูงกว่า 5 เซนติเมตร ท่านควรใช้อุปกรณ์ทางลาด วางเพื่อที่จะสามารถเข็นรถเข็น iMOVE ผ่านไปได้
2. สุขภาพของผู้ป่วย
2.1 หลังจากที่ผู้ดูแลพยุงตัวผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งแล้ว ผู้ป่วยควรจะสามารถทรงตัวนั่งได้เอง เนื่องจากการใช้งานรถเข็น iMOVE นั้นจะต้องโยกตัวผู้ป่วยไปทางซ้ายและด้านขวาเล็กน้อยเพื่อให้ที่นั่งของรถเข็น iMOVE เข้าไปที่ตำแหน่งที่จะรับน้ำหนักคือที่บริเวณใต้ก้นของผู้ป่วย
ตอนนั้นผู้ป่วยต้องทรงตัวเองได้บ้าง หากทรงตัวไม่ได้เลยก็แนะนำว่าจะต้องมีผู้ดูแลอีกท่านหนึ่งช่วยประคองตัวผู้ป่วย
2.2 ผู้ป่วยควรจะสามารถจับที่ด้ามจับประคองตัวที่รถเข็นได้ เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ป่วยเซไปด้านใดด้านนึง
หากผู้ป่วยไม่มีแรงแนะนำว่าควรใช้สายรัดพยุงตัวขณะใช้งาน
2.3 ผู้ป่วยที่อ้วนหรือตัวใหญ่ เราแนะนำว่าควรวัดที่นั่งที่ผู้ป่วยนั่งอยู่ประจำว่ามีขนาดใกล้เคียงกับที่นั่งของรถเข็น iMOVE
หรือไม่ ความกว้างของที่นั่งรถเข็น iMOVE อยู่ที่ 49 เซนต์และระยะห่างของที่วางแขนทั้ง 2 ข้างของรถเข็น iMOVE นั้นอยู่ที่ 41 เซนต์ ถ้าความกว้างของเก้าอี้ที่ผู้ป่วยนั่งอยู่ประจำใกล้เคียงกันก็สามารถใช้งานได้
2.4 ผู้ป่วยจะต้องไม่มีอาการเกร็งตัว หรือฝืนตัว เวลาที่ถูกทำการเคลื่อนย้าย
2.5 ผู้ป่วยควรมีสรีระที่สามารถนั่งบนเก้าอี้รถเข็นได้ เช่นสามารถงอขาเพื่อที่จะวางขาบนแป้นวางเท้าของรถเข็นได้เป็นต้น
**กรุณาอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆในการใช้งานก่อนสั่งซื้อ เพราะทางบริษัทไม่ได้รับคืนสินค้า ในกรณีที่ลูกค้าซื้อไปแล้วใช้ไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้างต้นนี้ หรือในกรณีที่ผู้ใช้ไม่พอใจในการใช้งานของรถเข็น iMOVE
เนื่องจากอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT นั้นออกแบบมาเพื่อใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
ในหลากหลายสถานการณ์ ลูกค้าจึงต้องทำความเข้าใจในระบบการทำงาน ข้อจำกัดในการใช้งานของอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
iLIFT รวมถึงเงือนไขของสถานที่ๆไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT ได้ และ เงื่อนไขด้านสุขภาพของผู้ป่วย
ที่อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT ได้
1. สถานที่ที่ใช้งาน
1.1 ความสูงของเตียง หรือ โซฟา ต้องมีความสูงไม่สูงกว่า 75 เนื่องจากเป็นระดับความสูงที่อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT สามารถปรับยกผู้ป่วยขึ้นได้สูงสุด และที่ฐานเตียงหรือโซฟาจะต้องมีช่องว่างที่มีความสูงอย่างน้อย 13 เซนต์ เพื่อให้อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT สามารถเข็นเข้าไปได้
1.2 พื้นที่ที่ใช้เข็นอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iLIFT ต้องเป็นพื้นเรียบ ไม่ลาดเอียง ไม่ขรุขระ หรือมีสิ่งกีดขวางสูงกว่า 2 เซนต์
2. สุขภาพของผู้ป่วย
2.1 ผู้ป่วยควรจะสามารถนั่งทรงตัวเองตรงๆได้ เนื่องจากตอนที่จะปรับความสูงของที่นั่งเพื่อยกตัวผู้ป่วยนั้น ผู้ดูแลจะต้องใช้มือ 2 ข้างหมุนที่ด้ามจับสำหรับหมุน ณ.ตอนนั้นผู้ป่วยต้องทรงตัวเองได้ไม่ล้มไปด้านหน้าหรือหงายไปด้านหลังโดยที่ผู้ดูแลไม่ได้จับหรือประคอง
2.2 ผู้ป่วยต้องสามารถจับที่ด้ามจับที่ตัวอุปกรณ์ iLIFT เพื่อช่วยไม่ใช้ผู้ป่วยเซไปด้านใดด้านนึง
2.3 ผู้ป่วยไม่อ้วนหรือมีเอวและสะโพกใหญ่เกินไป ขนาดของที่นั่งกว้าง 40ซม. ลึก 42ซม.
2.4 ผู้ป่วยต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 100กก.
ของแท้ จดสิทธิบัตร
แข็งแรง
รับน้ำหนักได้ 120 กก.
น้ำหนักเบา พกพาสะดวก
ใช้งานได้หลากหลาย
ส่วนประกอบของเก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iMOVE MODEL 2
1. ด้ามจับหมุนปรับระดับ ความสูงของที่นั่ง
2. ด้ามจับสำหรับเข็นโดยผู้ดูแล
3. ล้อหน้า 5 นิ้ว พร้อมล็อคล้อ
4. ที่วางเท้า เลื่อนเข้า-ออกได้
5. ล้อหลัง 3 นิ้ว
6. ที่นั่งพลาสติก ABS
7. พนักพิง พร้อมที่จับสำหรับเข็น
8. ที่วางแขน
ส่วนประกอบของเก้าอี้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย iMOVE MODEL 2 PLUS
1. ด้ามเหยียบปรับระดับ ความสูงของที่นั่ง
2. ด้ามจับสำหรับเข็นโดยผู้ดูแล
3. ล้อหน้า 5 นิ้ว พร้อมล็อคล้อ
4. ที่วางเท้า
5. ล้อหลัง 3 นิ้ว
6. เบาะรองนั่งถอดออกได้
7. พนักพิง พร้อมที่จับสำหรับเข็น
8. ที่วางแขน
ขนาดของรถเข็น iMOVE MODEL 2โดยละเอียด
ขนาดของรถเข็น iMOVE MODEL 2 PLUS โดยละเอียด
คุณสมบัติอเนกประสงค์
ชื่อสินค้า : รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ไอ มูฟ โมเดล 2 และ โมเดล 2 พลัส
สี :
น้ำหนัก MODEL 2 : 24 กิโลกรัม
น้ำหนัก MODEL 2 PLUS : 30 กิโลกรัม
ความสูงที่นั่ง MODEL 2 : 39 ซ.ม. – 58 ซ.ม.
ความสูงที่นั่ง MODEL 2 PLUS : 43 ซ.ม. – 65 ซ.ม.
ขนาด MODEL 2 : กว้าง 54 * ยาว 59 * สูง 89-109 ( ซ.ม. )
ขนาด MODEL 2 PLUS : กว้าง 59 * ยาว 71 * สูง 99-114.5 ( ซ.ม. )
ที่ว่างด้านล่างเตียง (ต้องมี) : 12.5 ซ.ม.
ระบบเบรก : เบรกเท้าทั้ง 4 ล้อ
รับน้ำหนักได้ : 120 กิโลกรัม
ของแถม : เบาะรองนั่ง, เข็มขัดนิรภัย และถังรองขับถ่าย
รับประกัน : โครงสร้าง 1 ปี
แนวคิด การออกแบบ ความสร้างสรรค์
เพื่อแก้ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยอย่างแท้จริง
เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
คุณภาพที่การันตีจาก ลูกค้า
Manufacturer Standard Certification;
ISO Certificate No. 47286,
FDA Registration Number 3015930931 / Listing Number D359217 Owner/ Operator Number 10061413,
CE CERTIFICATE NO.: I/ISETC.001020190806
เว็ปไซต์นี้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ พระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ห้ามผู้ใดทำซ้ำ ลอกเลียนแบบ ดัดแปลง ทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใด มิฉะนั้น จะถูกดำเนินการทางกฎหมาย